เศษเสี้ยนจากการเจาะรูทะลุ
ช่างทุกคนจะพบปัญหาเดียวกันเวลาใช้สว่านเจาะรูชิ้นงานโลหะจนเป็นรูทะลุ คือด้านล่างของรูมักจะมี
เศษเสี้ยนของโลหะ (Burr) ปูดออกมา โดยอาจเกิดได้ 2 แบบคือ
1. มีเศษเสี้ยนที่ปากรูพร้อมกับแผ่นโลหะบางๆ คล้ายจานหรือหมวก (Cap Burr)
2. เศษเสี้ยนที่ปากรูปูดสูงขึ้นคล้ายมงกุฎ โดยไม่มีแผ่นโลหะบางๆ (Crown Burr)
เศษเสี้ยนนี้เกิดจากการที่ปลายสว่านมีรูปทรงกรวย เมื่อปลายสว่านเจาะจนเกือบทะลุมุมที่ขอบของปลายสว่าน
จะดันให้เนื้อโลหะที่เหลืออยู่บางๆ พับงอจนเกิดเป็นเศษเสี้ยนขึ้นมา (ดูรูปที่ 1 )
รูปที่1
แต่ถ้าเราดัดแปลงขอบของปลายสว่านให้เป็นรูปโค้งมน (Spiral-Pointed Drill) ตามรูปที่ 2 จะช่วยลดแรงดัน
ที่ขอบของปลายสว่านลงได้มาก เศษเสี้ยนจะเหลือน้อยลง แต่สว่านแบบนี้ไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
และทำเองได้ยาก การลับสว่านให้คมอยู่เสมอแบบที่ “รจนา” เคยอธิบายไว้เมื่อหลายปีก่อนจะง่ายกว่า
รูปที่ 2