ReadyPlanet.com


ตัวหาขอบชิ้นงาน,หัวคว้าน,แท่นเครื่องมิลลิ่งหลวมคลอน



สวัสดีครับพี่


 
ผมสนใจสินค้าพี่มากมายหลายหลายเลยชิ้นครับราคาไม่แพงแถมเวบพี่ยังมีความรู้ให้อ่านด้วยอ่ะครับผมอยากทราบว่าที่แตะหาขอบชิ้นงานของมิลลิ่งแบบแสง,เสียงกับแบบสปิงดีดนี่แบบไหนดีกว่ากันอ่ะครับแล้วชุดด้ามคว้านนี่ซื้อมาแล้วต้องเปลี่ยนอาเบอด้วยใช่ป่าวครับ  ผมขอรบกวนถามพี่อีกหนึ่งคำถามครับคือตอนนี้ผมมีปัญหาเรื่องมิลลิ่งมันคลอนอ่ะครับในแนวแกนเอ็กรึป่าวไม่รู้พอผมเจาะรูนึงแล้วหมุนไปประมานยี่สิบมิลรูมันเยื้องกันอ่ะครับแล้วพอผมจับแกนเอ็กลองโยกดูแล้วมันก็คลอนอ่ะครับไม่รู้ทำไงดีอ่ะครับ

 

 


ผู้ตั้งกระทู้ sonne :: วันที่ลงประกาศ 2010-09-02 16:26:10 IP : 124.120.116.29


ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 5 (2045782)
ขนาดของหัวคว้าน BC2 โต 50 มม และมาพร้อมด้ามกลม 20 มม จึงสามารถใช้ collet 20 มม
จับได้เลย หัวคว้านนี้สามารถปรับขยายได้เหมือนแบบ B Type ความละเอียด 0.01 มม เท่ากัน
และมีมีดและก้านต่อมาให้ในกล่องแล้ว specs ต่างๆสามารถดูได้จากเว็ปไซต์หรือแค็ตตาล็อค
ความจริงรุ่นนี้ขายดีพอๆกับรุ่น B-Type และราคาไม่รวม Vat เพียง 5,599 บาท
 
 
ผู้แสดงความคิดเห็น รจนา วันที่ตอบ 2010-09-08 21:00:07 IP : 110.168.64.181


ความคิดเห็นที่ 4 (2045408)

 

เล็กนี่ประมาณกี่มิลถึงกี่มิลครับปรับได้แบบ B type รึป่าวคับ แล้วราคาประมาณเท่าไหร่อ่ะครับ


 
ขอบคุณครับ
 
 
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ  
ผู้แสดงความคิดเห็น sonne วันที่ตอบ 2010-09-05 21:06:20 IP : 115.87.67.38


ความคิดเห็นที่ 3 (2045347)
หัวคว้านแบบ B-Type มีน้ำหนักมาก ประมาณ 3.5 กก. หนักเกินไปที่จะใช้ collet แบบ ER32 จับ ควรใช้ด้ามเทเปอร์ต่อเข้าเครื่องเลยจะดีกว่า แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาถอดด้ามของ collet ER32ออก สามารถใช้หัวคว้านรุ่นเล็ก BC2 ก็ได้ โดยใช้ลูก collet ER32 ขนาด 20 มม. จับที่ก้านได้เลย แต่หัวคว้านเล็ก ก็ทำงานได้เล็กตาม ตอนนี้ก็อยู่ที่การตัดสินใจแล้วว่าแบบไหนถึงจะเหมาะ?
 
ผู้แสดงความคิดเห็น รจนา วันที่ตอบ 2010-09-04 20:33:01 IP : 124.120.142.254


ความคิดเห็นที่ 2 (2045269)
ขอบคุณมากครับพี่  ผมไม่นึกเลยว่าพี่จะอุส่าตอบผมเยอะมากมายขนาดนี้ครับ ส่วนเรื่องความรู้ต่างๆๆลงไปเลยครับคนอื่นๆๆจะได้ อ่านได้ด้วยครับ ผมขอถามอีกนิดนึงครับเรื่อง หัวคว้านแบบปรับได้อ่ะครับ ที่ชุดล่ะหมื่นกว่าบาทอ่ะครับ คือตอนนี้มิลลิ่งที่ผมใช้อยู่มันเป็นER 32 ถ้าซื้อมานี่ ใส่กับคอเล็ทได้เลยไม่ต้องถอดอาเบอร์ใช่รึป่าวครับ
 
 
ปล. ไม่ต้องตอบเยอะก็ได้ครับผมเกรงใจครับ
 
ขอบคุณครับ
 
 
ด้วยความเคารพอย่างสูงครับ 



 

ผู้แสดงความคิดเห็น sonne วันที่ตอบ 2010-09-03 14:09:32 IP : 124.122.93.243


ความคิดเห็นที่ 1 (2045203)
เรียน คุณsonne
 
ขอบคุณที่สนใจในสินค้าและเว็ปไซต์ของบริษัท ขอตอบข้อสงสัยที่ถามมาเป็นข้อๆ ดังนี้
 
1. ตัวหาขอบชิ้นงาน
    แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียดังนี้
    1.1 แบบแสงอย่างเดียว(SOE-20L) จะมีข้อดีเรื่องความเที่ยงตรงและง่ายแก่การสังเกตุ การใช้งานไม่ยากลองฝึกใช้
          ไม่นานก็ใช้เป็น
          แต่มีข้อเสียคือห้ามทำตกหรือกระแทก เพราะปลายจะหักหรือคดงอ จะเสียเลยใช้งานไม่ได้ต่อไปและบางช่วงg;]kก็หา
          ซื้อแบตเตอรี่ยาก
     1.2 แบบแสง+เสียง(SOE-20LB) คุณสมบัคิและข้อดีข้อเสียเหมือนกับ 1.1 แต่เพิ่มเสียงเข้าไป เหมาะสำหรับงานขนาด
           ใหญ่ที่ต้องหาขอบในระยะที่ห่างออกไป หรือต้องแตะสัมผัสด้านหลังชิ้นงาน หรือใช้งานในรูลีกซึ่งเรามองไม่เห็น
           จึงต้องใช้เสียงเป็นตัวบอก แบตเตอรี่สำหรับตัวนี้จะหาซื้อง่าย
     1.3 แบบ Mechanic  เป็นแบบดั้งเดิม และราคาถูกกว่า 2แบบที่กล่าวมามาก ไม่ต้องพึ่งพลังงานจากแบตเตอรี่ ทำตก
           หรือกระแทกก็ไม่มีผลมาก แบบนี้จะต้องเปิดเครื่องรอบช้าๆเพื่อดูรอยแยกของส่วนลำตัวกับปลายสัมผัส (แต่ 2 แบบ
           บนไม่ต้องเปิดเครื่อง) ข้อดีคือเรื่องราคาถูก และบางคนที่เคยใช้ มีความคุ้นเคยสามารถใช้งานได้เลยไม่มีปัญหา
           แต่ผู้ใช้งานใหม่อาจจะรู้สึกยุ่งยากในการสังเกตุดูรอยแยกว่าตรงกันหรือยัง หรือคนที่สายตาไม่ดีก็ดูยาก เพราะต้อง
           ดูใกล้ๆ จึงใช้งานในตำแหน่งที่อยู่ห่างไม่ได้ นอกจากนี้ถ้าปลายสัมผัสสึกด้านใดด้านหนึ่งมากจะทำให้หาขอบชิ้นงาน
           ไม่ได้หรือผิดตำแหน่ง แบบนี้ยังแบ่งออกมาเป็น 3 แบบย่อย คือ 1.แบบดั้งเดิม SME-610  2. แบบFlangeใหญ่(รอย
           แยก) 20 มม เพื่อง่ายแก่การสังเกตู (SME-1020) 3. แบบ Modified (SME-420) ที่นอกจากจะมีFlange ใหญ่ 20
           มม แล้ว ยังเพิ่มปลายเล็กๆ 4 มม สำหรับร่องหรือรูเล็กๆด้วย(แต่บางคนเห็นว่าเกะกะ และไม่มีประโยชน์)
 
     แล้วเราจะเลือกอย่างไรให้เหมาะกับงาน?
    
     คำตอบคือ ถ้าเป็นเครื่อง CNC น่าจะใช้ 2 แบบแรกมากกว่า เพราะสะดวกในการใช้งาน และเครื่อง CNC มีราคาแพง ควรเลือกเครื่องมือให้เหมาะกับเครื่อง แต่ถ้าเป็นเครื่องมิลลิ่งทั่วไปจะใช้แบบไหนก็ได้ตามความถนัดและความชอบ นอกจากนี้ยังมีเรื่องต้องพิจารณาอีกหนึ่งเรื่องคือ ผู้ที่ตัดสินใจซื้อ ต้องการเอาไว้ใช้เองหรือให้คนอื่นใช้ ถ้าใช้เองก็พิจารณาจากเหตุผลที่กล่าวมาแล้วได้ แต่ถ้าซื้อให้ลูกน้องใช้งานโดยเฉพาะใช้กับเครื่องมิลลิ่ง มักนิยมใช้แบบ Mechanic เหตุผลเพราะราคาถูกและเสียหายยากกว่า แต่ที่สำคัญคือกลัวหาย เพราะลูกน้องไม่ค่อยรับผิดชอบ 
 
    
2. หัวคว้าน
    เข้าใจว่าเป็นหัวคว้านแบบ B-Type ที่แยกส่วนระหว่างด้าม (Arbor) กับหัวคว้าน(+อุปกรณ์) นั้น สามารถแยกสั่งซื้อได้ ปกติถ้าซื้อครั้งแรก ควรซื้อด้ามพร้อมหัวคว้าน จึงจะใช้งานได้ แต่ต่อมาถ้าเรามีเครื่องจักรเพิ่มอีกตัวหนึ่ง ถ้าด้ามเบอร์เดียวกันก็ใช้ร่วมกันได้เลย แต่ถ้าด้ามคนละเบอร์ ก็สามารถซื้อเฉพาะด้ามอย่างเดียวเพิ่มเติมก็ได้ และใช้หัวคว้านร่วมกัน วิธีนี้จะช่วยให้ประหยัดเงินมากขึ้น
   ตัวอย่าง. ตอนแรกซื้อห้วคว้าน B-Type พร้อมด้าม NT40 ไปใช้กับเครื่องมิลลิ่ง ต่อมามีเครื่องมิลลิ่งเล็กที่ใช้ด้าม NT30 อีกเครื่องหนึ่ง ก็สามารถซื้อเฉพาะด้าม NT30 มาใช้ร่วมกับหัวคว้านเดิมก็ได้ หรือจะซื้อใหม่ทั้งชุดก็แล้วแต่ความต้องการ
 
3. แท่นเครื่องมิลลิ่งหลวมคลอน
    เข้าใจว่าเป็นเครื่องเก่าแล้ว ถ้าเป็นช่างที่ชำนาญงานและมีเครื่องมือพร้อมสามารถฟิตรางเครื่องใหม่ได้ แต่ถ้าไม่ใช่ อาจใช้วิธีต่อไปนี้ช่วย
 
    3.1 ถ้ามีสกรูปรับระยะความฟิตของแท่นเครื่อง ให้ไขสกรูเข้าให้ตึงอีกหน่อย
    3.2 ถ้ามีแผ่นประกับด้านล่างแท่นเครื่อง ให้เช็คว่าสกรูล็อคหลวมหรือไม่ ถ้าหลวมให้ไขสกรูเข้าให้ตึง แต่ถ้าเกิดจาก
           แผ่นประกับสึกมาก ให้ถอดออกมาแล้วเจียรนัยให้เรียบ แล้วประกอบกลับเข้าไป จะช่วยให้รางแท่นเครื่องแน่นขึ้น
    3.3 ถ้ารางแท่นเครื่องสึกมากจนเห็นช่องว่างอย่างชัดเจน อาจใช้แผ่นชิมเสียบเข้าในร่องเพื่อให้แท่นครื่องแน่นขึ้น
          แต่อย่าลืมมีตัวปิดไม่ให้ แผ่นชิมหลุดออกมาได้
    3.4 ในการใช้งาน เมื่อเลื่อนตำแหน่งไปสู่ตำแหน่งที่ต้องการแล้ว อย่าลืมล็อคแท่นให้แน่นด้วย แท่นเครื่องจะได้
          ไม่เลื่อน         
 
หวังว่าคงตอบคำถามตรงกับที่ต้องการ
 
 
ขอแสดงความนับถือ
 
รจนา
ผู้แสดงความคิดเห็น รจนา วันที่ตอบ 2010-09-02 16:41:26 IP : 124.120.116.29



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล




98