ทำไมจึงไม่ใช้หัวจับสว่านไปจับดอกเอ็นมิล?
ถาม สงสัย มานานแล้วว่าทำไมเราจึงไม่ใช้หัวจับสว่าน ไปจับดอกเอ็นมิลหรือดอกต๊าปทั้งที่น่าจะเป็นวิธีที่ง่าย
และประหยัดที่สุด? รบกวนคุณรจนา ตอบให้ด้วย

ตอบ ปัญหานี้มีประเด็นที่ต้องพิจารณา 2 เรื่องคือ
1.ลักษณะงาน (Operation) การใช้สว่านเจาะรู จะใช้แรงกดจากบนลงล่าง Load จะมีน้อยและเกิดเฉพาะที่ปลายคมตัดของสว่าน
ซึ่งมีพื้นที่ไม่มาก ส่วนเอ็นมิลจะใช้วิธีกัดด้านข้างเป็นหลัก (แม้เอ็นมิลบางแบบจะเจาะได้เหมือนสว่าน) เครื่องจักรจะต้องมีแรงบิดสูง (Torque)
เพราะจะต้องรับ Load จากด้านข้างยิ่งกัดลึก-กัดหนัก ยิ่งมี Load มากขึ้น และมากกว่าสว่านมาก ส่วนดอกต๊าปแม้จะมีการเจาะรูนำไปก่อนแล้ว
แต่การที่คมดอกต๊าปตัดเฉือนเนื้อชิ้นงานเพื่อให้เกิดเกลียว ก็ต้องใช้แรงบิดที่สูง และรับ Load ด้านข้างมากเช่นเดียวกับเอ็นมิล
2. ชนิดของหัวจับ (Tool Holder) หัวจับสว่าน (Drill Chuck) จะมีปากจับ (Jaw) อยู่ 3 ชิ้น และออกแบบมาให้จับสว่านได้ช่วงกว้างมาก
เช่น 0.3 -13 มม. ผิวสัมผัสจึงมีน้อยมากเพียง 3 จุด มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะจับก้านสว่านเพื่อเจาะรูได้เพราะรับ load น้อย แต่ไม่แข็งแรงพอ
ที่จะรับ Load ที่เกิดจากแรงบิด ในการกัดงานของเอ็นมิลและดอกต๊าปได้ ลูกคอเล็ท (Collet Chuck) เช่น ER หรือ OZ ออกแบบมา
ให้มีผิวสัมผัสจับก้านเอ็นมิลได้มากกว่าหัวจับสว่าน แต่ช่วงการจับน้อยเพียง 0.5 –1.0 มม.จึงรับ Load ที่เกิดจากแรงบิดในการกัดงานด้านข้าง
ได้ดีกว่ามากแต่ก็ยังไม่มากพอที่จะจับดอกต๊าป ถ้าเราสังเกตสักนิดจะเห็นว่าดอกต๊าปจะมีปลายที่ก้านเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่สร้างขึ้นมาเ
พื่อไว้ขับพาดอกต๊าปให้หมุนตัดเกลียวชิ้นงาน และป้องกันการรูดเนื่องจากจับไม่อยู่(Square Drive) หัวจับดอกต๊าปจึงต้องเพิ่มช่องสี่เหลี่ยม
เพื่อการนี้โดยเฉพาะ คำอธิบายข้างบนนี้คงช่วยให้เข้าใจมากขึ้นว่าทำไมเราจึงต้องมีหัวจับหลายแบบ สำหรับงานต่างชนิดกัน