“วิมายปุระ แดนเทวนฤมิตร”
งานแสดงนี้จัดขึ้นโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไม่เหมือนนโขน โดยใช้ฉากหลังของปราสาทหินพิมาย และด้านหน้ากำแพงเป็นเวทีตลอดแนว มีน้ำพุ และการจุดดอกไม้ไฟประกอบการแสดงอย่างสวยงาม
การแสดงแบ่งออกเป็น 4 ช่วงด้วยกัน คือพูดง่าย ๆ ว่า การเกิด ดำเนินไป รุ่งเรือง และยุคเสื่อมสลายแห่งประสาทหินพิมาย
พูดถึงว่า ภาษาโคราช นี่เป็นภาษาที่แปลกมาก เพราะสำเนียงจะไม่เหมือนใคร ไม่ใช่ภาษาอีสาน แต่เป็นภาษาถิ่นของคนโคราชเอง ยิ่งเมื่อตอนเย็น โฆษกสนามประกาศว่า “หากแดด “บด” แล้วเราจะเริ่มการแสดงโขน” ทำเอาผู้คนงง กันเป็นแถบ ๆ คำว่า “แดดบด” แปลว่า แดดร่มครับพี่น้อง
นอกจากนี้ยังมีคำอีกหลาย ๆ คำที่พูดแปลก เช่น ตะกร้า เรียก กะต้า เป็นต้น และคนโคราชนี่เอง ที่หนุ่ม ๆ จะพูด “จ๊ะ” เป็นคำลงท้ายแปลว่า ครับ ผู้หญิงก็พูดเช่นกัน ก็แปลว่า ค่ะ
ปราสาทหินพิมาย เป็นอารยธรรมที่เชื่อมโยงกับนครวัตร โดยมีต้นแบบการสร้างในลักษณะเดียวกัน ซึ่งได้รับอิทธิพลแผ่ขยายมาถึงดินแดนแถบอิสานใต้ เป็นอาณาบริเวณกว้าง รวมไปถึง ปราสาทหินพนมรุ้ง และปราสาทหินเมืองต่ำด้วย
ค่ำคืนนี้คงนำเสนอแค่งานแสงสี วิมายปุระ แดนเทวนฤมิตร ก็คงเพียงพอแล้ว เพราะมีความงดงามสมบูรณ์ไปด้วยการแสดงศิลปะที่งดงาม ประกอบการเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องกันไป



































